
ปุ๋ย เป็นสารเอาไว้ใส่ลงในดินเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น
ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเป็นการเพิ่มเติมธาตุสารอาหารของพืชและอาหารสัตว์กลับคืนสู่ระบบนิเวศในดิน เป็นการนำวัสดุอินทรีย์ต่างๆกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เป็นการปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติดีขึ้น โดยมีการเพิ่มเติมปริมาณอินทรียวัตถุกลับคืนสู่ดิน ทำให้ดินมีชีวิต การเกษตรในปัจจุบันนี้ ได้มีความพยายามในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อให้การผลิตพืชหรือสัตว์มีคุณภาพดีขึ้น เช่น การอุ้มน้ำดีขึ้น การถ่ายเทอากาศอันเหมาะสมจะทำให้ธาตุอาหารในพืชไม่สูญเสียไปจากระบบนิเวศในดินได้ง่าย ทั้งหมดนี้เป็นการลดต้นทุนจากการนำปัจจัยการผลิตที่มีราคาแพง เช่น ปุ๋ยเคมี ได้เป็นอย่างดี
ในระบบทางการผลิตเกษตรแบบธรรมชาติจะเน้นการนำวัสดุอินทรีย์ที่มีอยู่รอบชุมชน มาใช้ในการผลิตพืชและสัตว์ เพื่อลดการนำปัจจัยการผลิตจากภายนอกมาใช้ให้น้อยที่สุด ซึ่งเป็นระบบแบบพึ่งพาตนเอง พยายามลดต้นทุนปัจจัยการผลิตต่างๆหรือซื้อให้น้อยที่สุด แต่เน้นการผลิตปัจจัยการผลิตเหล่านี้ด้วยตนเองทั้งภายในชุมชน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ จึงเป็นทางออกสำคัญในระบบการผลิตแบบเกษตรธรรมชาติรวมทั้งเกษตรอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์
คือปุ๋ยที่ทำจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยวิธีทำให้ชื้น , สับ , หมัก , บด , ร่อน , สกัด หรือด้วยวิธีการอื่นๆ วัสดุอินทรีย์ย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์
สรุปง่ายๆกืคือ ปุ๋ยอินทรีย์มีหน้าที่ปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพดิน, ส่งเสริมการปลดปล่อยของปุ๋ยเคมี มีธาตุอาหารแต่ปริมาณต่ำไม่พอให้พืชนำไปสร้างผลผลิตและคุณภาพ
ปุ๋ยชีวภาพ
คือปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิต มีความสามารถในการสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช มาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน ทางชีวภาพ , กายภาพ หรือชีวเคมี ยังรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์อีกด้วย
สรุปง่ายๆกืคือ ปุ๋ยชีวภาพมีหน้าที่ปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืช ช่วยสร้างอาหารให้พืช แต่ไม่มีธาตุอาหารในตัวมันเอง เมื่อปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืชได้ ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีจึงลดลงประหยัดมากขึ้น เพราะการปลดปล่อยของมันจะออกมาในรูปที่พืชนำไปใช้ได้นั่นคือเคมีนั่นเอง
ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์มีดังนี้
– ปุ๋ยคอก
– ปุ๋ยพืชสด
– ปุ๋ยหมัก
– ปุ๋ยหมักแบบกลับกอง
– ปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองระบบกองเติมอากาศ
– ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
– ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
ชนิดของปุ๋ยชีวภาพมีดังนี้
- ไรโซเบียม
- อะโซโตแบคเตอร์
- สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
- แหนแดง
- เชื้อราไมคอร์ไรซ่า
- เชื้อราไตรโคเตอร์มา
แหล่งข้อมูล https://www.gotoknow.org/posts/206618